ทำความรู้จัก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โพสต์เมื่อวันที่

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Engineering, Chulalongkorn University) เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดมาจากโรงเรียนยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นคณะที่มีจำนวนรุ่นมากที่สุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2560 เป็นรุ่นที่ 101

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะวิศวฯ ที่จุฬาฯ ของเรามีการเรียนการสอนแบ่งเป็นภาควิชาทั้งหมด 12 + 4 ภาควิชา คือเป็น “ภาคไทย” 12 ภาค และ ภาควิชาในหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (International School of Engineering) อีก 4 ภาค ได้แก่

ภาคไทย

  • ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์
    • ภาคนี้เป็นภาคใหม่จะเรียนทางด้านนิวเคลียร์และรังสี เช่น กากกัมมันตรังสี รังสีในอุตสาหกรรม และใช้ประโยชน์ต่างๆ ของรังสี และสุดท้ายในชั้นปีที่ 4 จะมีอีก 4 สาขาวิชาย่อยให้ได้เลือกเรียนแบบเจาะลึกคือ
      • เครื่องมือนิวเคลียร์
      • การใช้งานรังสีทางอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
      • นิวเคลียร์กำลัง
      • การกำจัดของเสียทางนิวเคลียร์
    • ตลาดงานทางด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์นั้นเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ดังนั้นเมื่อเรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือรังสี ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร การพัฒนาวัสดุศาสตร์ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องฉายรังสีหรือเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะไปช่วยดูแล รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่รับบัณฑิตสาขานี้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ กฟผ. แม้จะเป็นสาขาวิชาเฉพาะและดูเหมือนตลาดงานในประเทศไทยด้านนิวเคลียร์ยังมีไม่มาก แต่ว่าวิศวกรสาขานี้ในต่างประเทศกลับเป็นต้องการอย่างมากรวมทั้งมีฐานเงินเดือนสูงไม่แพ้สาขาอื่นเลย
  •  ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เรียนเนื้อหาครอบคลุมทั้งส่วน Software และ Hardware โดยเน้นทที่พื้นฐานและทฤษฎีระดับลึก เช่น คณิตศาสตร์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูล การเขียนโปรแกรม วงจรไฟฟ้า ระบบคำนวณของคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถประกอบอาชีพได้หลายอย่าง เช่น
      • พัฒนา ออกแบบและดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      • พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
      • บริหารระบบและวิเคราะห์ระบบวิศวกรคอมพิวเตอร์ ดูแลและจัดระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร บริษัทด้านอินเทอร์เน็ต
      • โปรแกรมเมอร์ และงานอิสระ วิศวกรคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นพนักงานบริษัท หรือนักพัฒนาอิสระ
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
    • เป็นการศึกษากระบวนการต่างๆที่อาศัยความรู้ทางเคมีและกายภาพ เพื่อสามารถ ออกแบบ ควบคุม แก้ไข ให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากที่สุด วิชาที่เรียนจะเน้นหนักไปทาง วิชาที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน การถ่ายเทพลังงาน การแลกเปลี่ยนมวลสาร และ หน่วยปฏิบัคิการในกระบวนการต่างๆ เช่น การกลั่น การกรอง การตกตะกอน เป็นต้น ทั้งนี้เนื้อหาวิชาอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละสถาบันการศึกษา สำหรับงานของวิศวกรเคมี จะเกี่ยวข้องกับ การออกแบบ ควบคุม ปรับปรุง และ แก้ไข กระบวนการผลิตในเชิงลึกให้เกิดความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า สอดคล้องกับทรัพยากรณ์ที่มี ให้มากที่สุด
  • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หรือ Mechanical Engineering เป็นหลักสูตรที่มีเปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย และสามารถทำงานได้ในหลายด้าน หลายคนอาจสงสัยว่าเครื่องกลเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง เรียนแต่เครื่องจักรอย่างเดียวรึเปล่า จริงๆ แล้วไม่ใช่นะ ภาควิชาเครื่องกลจะเรียนวิชาหลักๆ เป็น 4 ส่วนคือ กลศาสตร์วัตถุแข็ง กลศาสตร์ของไหล ความร้อนและพลังงาน กลศาสตร์ควบคุม ซึ่งเหล่านี้ก็คือ บทกลศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน และของไหล ในวิชาฟิสิกส์นั่นเอง แต่กลศาสตร์ควบคุมจะเพิ่มเติมในส่วนของการเขียนโปรแกรม และไฟฟ้านิดหน่อย
  • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • ภาคไฟฟ้านั้นจะแบ่งได้ เป็น สาขาย่อยๆ ดังนี้ครับ
      • สาขาไฟฟ้ากำลัง ( Power ) เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับระบบใหญ่ๆเป็นภาพกว้าง เช่น ระบบกำลังการผลิตไฟฟ้า ออกแนวไปในทางผลิตพลังงานไฟฟ้า เรียนรู้กระบวนการผลิต จนถึงผู้ใช้ไฟฟ้ากันเลย
      • สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (Communication) เรียนเกี่ยวกับการสื่อสารหรือโทรคมนาคม เช่น พวกโทรศัพท์ ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน หรืออินเตอร์เน็ต และอาจจะต้องเรียนเกี่ยวกับคอมบ้าง เพราะสาขานี้ต้องใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ด้ควบคู่ไปด้วย
      • สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า ชิพ หรือไอซี ต่างๆ และต้องเรียนรู้ทางด้านคุณสมบัติวัสดุในการทำชิ้นส่วนพวกนี้ด้วย ที่น้องๆ คงจะเคยเห็นได้ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้า แทบทุกชนิด ล้วนแต่จะต้องมีแผงวงจรในการควบคุมการทำงานต่างๆ
      • สาขาไฟฟ้าควบคุม ซึ่งเป็นสาขาที่ต้องนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ในการควบคุม ระบบ ซึ่งอาจจะเป็นระบบใหญ่หรือระบบเล็กๆ เช่น หุ่นยนต์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ได้นะ โดยภาคไฟฟ้านี้จะใช้วิชาคณิตศาสตร์เยอะมากๆ และในส่วนของเนื้อหาไฟฟ้าที่น้องๆเรียนกัน พี่ก็จะเรียนลงลึกมากขึ้นครับ ซึ่งความรู้ที่เรียนก็จะสามารถประยุกต์ใช้กับการใช้งานด้านไฟฟ้าได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
    • สิ่งที่เรียนคงไม่พ้นการสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นโลก ไม่ว่าจะเป็นตึก อาคาร บ้าน ถนนหนทาง เขื่อน หรือแม้แต่ผังเมือง โดยพื้นฐานคนที่เรียนโยธาจะได้รับความรู้ ความสามารถ ในการออกแบบโครงสร้าง การควบคุมการก่อสร้าง การจัดการทรัพยากรในการก่อสร้าง ซึ่งจริงๆ แล้วภาควิศวกรรมโยธาไม่ได้เรียนเพียงแค่นั้น ลึกๆ จริงๆ แล้วยังมีลักษณะรูปแบบสาขาในตามลักษณะงานอีก 5 สายงานดังนี้ ได้แก่
      • สายโครงสร้าง STRUCTURE
      • สายขนส่ง TRANSPORTATION
      • สายปฐพี GEOLOGICAL
      • สายบริหารการก่อสร้าง CONSTRUCTION MANAGEMENT
      • สายแหล่งน้ำ WATER RESOURCE
  • ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
    • ภาคโลหการนั้นศึกษาเกี่ยวกับโลหะและวัสดุวิศวกรรมอื่นๆ เช่น เซรามิก พอลิเมอร์ โดยจะเน้นความสำคัญไปทางโลหะเป็นหลัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมมากที่สุด หลายคนอาจตั้งคำถามว่า ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กับภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์นั้นแตกต่างกันอย่างไร เพราะแน่นอนว่าทั้งคู่ก็ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุเหมือนกัน แต่ว่าภาควิชาวิศวกรรมโลหการ จะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของโลหะเป็นส่วนใหญ่ ทั้งในเรื่องของการศึกษาโครงสร้างส่วนเล็กๆ ในโลหะ จนไปถึงโครงสร้างภายนอก การศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของโลหะต่างๆ รวมถึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ เช่น กรรมวิธีการผลิตวัสดุต่างๆ โครงสร้างของวัสดุ สมบัติของวัสดุ สมรรถนะในการนำไปใช้งานของวัสดุ เป็นต้น แต่สำหรับภาควิชาวัสดุศาสตร์ ของคณะวิทยาศาสตร์นั้น จะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับเซรามิกและพอลิเมอร์เป็นหลัก
  • ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ
    • วิศวกรรมสำรวจจะเป็นศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ เผยแพร่ และการใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงภูมิศาสตร์ (ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก) อวกาศ และใต้ดิน วิศวกรรมสำรวจประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อให้เข้าใจลักษณะแบบจำลองของปรากฏการณ์ทางกายภาพต่างๆ และสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นลงมาเป็นข้อมูลรูปแผนที่ที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือทางตำแหน่ง และข้อมูลอธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจประกอบด้วย
    • การศึกษาในภาคปฏิบัติ จะมีการฝึกทำงานภาคสนามที่ทางภาควิชาได้จัดเตรียมไว้และฝึกในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับการสอน ทั้งยังมีการเข้า Survey Camp เพื่อฝึกฝนทักษะในด้านการทำงานในสถานที่จริงอีกด้วย
  • ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    • สำหรับอาชีพของวิศวกรสิ่งแวดล้อมนั้นงานหลักคือควบคุมระบบบำบัด และออกแบบการกำจัดของเสียในรูปแบบต่างๆ เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย อากาศเสีย ขยะ และขยะอันตราย รวมถึงงานด้านผลิตสิ่งสะอาดด้วยเหมือนกัน เช่น ออกแบบโรงงานผลิตน้ำประปา การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย สระว่ายน้ำ ระบบจ่ายน้ำ และระบบระบายน้ำต่างๆ สำหรับการเรียนในภาคนี้นั้นเป็นการนำแต่ละส่วนของภาควิชา โยธา สำรวจ เหมืองแร่ และแหล่งน้ำ มารวมกัน อีกทั้งยังใช้ความรู้ของวิชชา ชีววฯ และเคมี อีกด้วย ในปัจจุบันนั้นมี 2 สายงานหลักคือ
      • สายด้านโยธาสุขาภิบาล เป็นการก่อสร้างระบบภายในห้องสุขา การส่งน้ำ และการระบายน้ำ
      • สายด้านการควบคุมมลภาวะ เป็นการออกแบบและแก้ไขปัญหาของระบบกำจัดของเสียจากโรงงานในรูปต่างๆ รวมถึงการออกแบบโรงงานผลิตน้ำประปา การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย สระว่ายน้ำ ระบบจ่ายน้ำ และระบบระบายน้ำต่าง
  • ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
    • สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม
      • สาขาวิชานี้จะเน้นเรียนรู้เพื่อการสำรวจ ขุดเจาะ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเล แล้วส่งไปให้วิศวกรเคมีไปทำการแยก และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป ส่วนวิชาที่ต้องเรียนนั้น จะมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Fluid เยอะมาก ต้องรู้คุณสมบัติต่างๆ เช่น การไหล ความดัน สถานะ เรียนวิชาทาง Geology เพื่อเข้าใจรูปแบบการเกิด และการกักเก็บของปิโตรเลียม คุณสมบัติของหิน และลักษณะทางธรณีวิทยา นอกจากนี้ยังเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการแก้สมการต่างๆ อีกด้วย ซึ่งวิศวกรรมปิโตรเลียมแบ่งสาขาย่อยลงไปได้อีก 4 สาขา ดังนี้
        • Reservoir Engineer (วิศวกรแหล่งกักเก็บ) คือการทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์แหล่งกักเก็บหลุมน้ำมัน จะทำงานหน้าคอมในออฟฟิศ ออกแท่นบ้างเป็นครั้งคราว
        • Drilling Engineer (วิศวกรขุดเจาะ) หน้าที่หลักคือ ขุด เป็นคนคุมแท่นขุดเจาะทั้งแท่นขุดเจาะบนฝั่ง (On shore) หรือในทะเล (Off shore)
        • Well Completion Engineer (วิศวกรหลุมผลิต) หน้าที่หลักๆ คือ การเตรียมหลุมผลิต หลังจากที่ Drilling Engineer ขุดหลุมให้แล้ว
        • Production Engineer (วิศวกรการผลิต) หน้าที่หลักๆ คือการควบคุมอัตราการผลิตให้เป็นไปตามปกติหลังจากที่เปิดหลุมและดำเนินการผลิตน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติแล้ว
    • สาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี
      • สาขาวิชานี้จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับทรัพย์ในดิน หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ศึกษาเกี่ยวกับการทำเหมืองนั่นเอง สำหรับการเรียนนั้น วิชาที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ วิชาเกี่ยวกับโครงสร้างทางธรณีวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับหิน แร่ และการออกไปดูงานด้านเหมืองแร่ตามโรงงานต่างๆ โดยภาควิชานี้จะแบ่งหลักๆ เป็น 2 สาขาด้วยกัน คือ เหมืองแร่และรีไซเคิล สาขาเหมืองแร่จะเรียนเกี่ยวกับการทำเหมืองหน้างาน ส่วนสาขารีไซเคิลจะเป็นการเรียนเกี่ยวกับการแต่งแร่ หรือให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ การปรับปรุงแร่จากหน้างานให้มีมูลค่าสูงขึ้นนั่นเอง
  • ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ
  • ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    • เป็นภาคที่พยามยามสอนให้นิสิตเป็น Planner ซึ่งสามารถวางแนและวิเคราะห์ในเชิงวิศวกรรมได้ สำหรับภาคนี้มีหลายๆสิ่งที่เรียนเนื้อหาเหมือนบัญชีแต่จะมีบางหัวข้อที่ IE นั้นจะเรียนเนื้อหาที่ลึกกว่าเพราะว่า IE ซึ่งสามารถทำงาน ประเมิน วิเคราะห์ ในด้านวิศวกรรมได้ แต่บัญชีนั้นไม่สามารถทำได้ครับ ส่วนผู้ถึงบริหารนั้น เราเรียนเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้บริหารคน งาน หรือองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย IE นั้นมี 2 สายงานหลักดังนี้
      • Industry เป็นการดูในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับอุตสาหการ ออกแบบโรงงาน-การผลิต ,การขนส่ง รวมถึงการควบคุมและออกแบบสินค้าต่างๆ
      • Service เป็นนการดูแลและจัดการเรื่องของการบริการ รมถึงการควบคุมคุณภาพเพื่อให้เป็นที่พอใจของลูกค้าและ การพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

ภาควิชาในหลักสูตรนานาชาติ (ภาคอินเตอร์)

  • ADME วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์
    • การเรียนการสอนในภาคนี้จะคล้ายกับภาคเครื่องกล ซึ่งว่าด้วยศาสตร์การออกแบบ ควบคุม และจัดการกลไกและเครื่องจักรต่างๆ รวมไปถึงการควบคุมสายการผลิต และจัดการระบบโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่จะเพิ่มเติม การเรียนเกี่ยวกับชิ้นส่วน ระบบไฟฟ้าอย่างง่าย และกลไกของรถยนต์ รวมถึงการออกแบบโครงรถด้วย ซึ่งในการเรียนจะมีการเรียนวิชาความรู้พื้นฐาน ททางเลขและฟิสิกส์ มีการทำแลป และโปรเจคซึ่งน้องๆ จะได้ลงมือทำงานจริง ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงผลิตเสร็จสมบูรณ์
  • AERO วิศวกรรมอากาศยาน
    • สาขาอากาศยาน (Aerospace Engineering ) เป็นภาควิชาหลักสูตรนานาชาติ เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ ซ่อม บำรุงรักษา และผลิต เครื่องบิน รวมถึงหลักการของอากาศยานทุกประเภทบนท้องฟ้า แต่ไม่ได้สอนการขับเครื่องบินเนื้อหาพื้นฐานจะมีลักษณะคล้ายภาคเครื่องกล เหมาะสำหรับคนที่อยากรู้การทำงานของเครื่องบิน มีวิชาสำคัญเน้นไปที่การศึกษาการไหลของอากาศ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการศึกษาอากาศยาน
  • ICE วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
    • วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ Information and Communication Engineering (ICE) เป็นหลักสูตรนานาชาติของ คณะวิศวฯ จุฬาฯ ซึ่งจะเน้นไปทางด้านเทคโนโลยี เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้าง เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชันต่างๆ การเขียนโปรแกรม เป็นต้น รวมไปถึงเรียนรู้ทางด้านผลกระทบของเทคโนโลยีที่สร้างต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวเราอีกด้วย
  • NANO วิศวกรรมนาโน
    • วิศวกรรมนาโนเป็นการนำความรู้ ไปพัฒนาวัสดุเดิม เช่น โลหะ พลาสติก ให้มีคุณสมบัติดีขึ้น เช่น การนำไฟฟ้าของพลาสติก โดยวัสดุระดับนาโน จะมีคุณสมบัติต่างจากคุณสมบัติ macroscopic ของมัน เช่น ทองคำระดับนาโนจะมีสีแดง หรือน้ำเงิน ขึ้นกับขนาดของผลึก
      ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการแยกสาขานาโน เป็น 2 สาขา คือ

      • สาขา Bio-nano Engineering ซึ่งเน้นทางด้านชีววิทยา และเคมี โดยเกี่ยวกับ ชีวการแพทย์ เภสัชกรรม เป็นต้น
      • สาขา Nano-nono Engineering จะเน้นเรียนทางด้านฟิสิกส์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลัก

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/intaniaopenhouse

ความคิดเห็น